วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการขับขี่รถจักรยานยนต์





1. การขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ประหยัดน้ำมัน
2. การแก้ไขอุบัติเหตุด้วยตนเองขณะขับขี่รถจักรยานยนต์
3. ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
4. การปฐมพยาบาล
5. การขับขี่อย่างป้องกันไว้ก่อน
6. การบำรุงรักษารถจักรยานยนต์


การขับขี่รถจักรยานยนต์ จำเป็นจะต้องมีความรู้ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ประหยัด พลังงานด้วย
ตัวเอง การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อประสบอุบัติเหตุ การขับขี่อย่างปลอดภัย นอกจากนี้การบำรุง
ดูแลรักษาอุปกรณ์ส่วนประกอบของรถจักรยานยนต์ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมในการใช้งาน ดังนั้น จึงมี
ความจำเป็นมากที่ผู้ขับขี่จะต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและส่วนรวม

1. การขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ประหยัดน้ำมัน


1. ไม่ควรอุ่นเครื่องรถจักรยานยนต์ ก่อนออกเดินทาง
     นานเกิน 10 นาที เนื่องจาก จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน
    โดยไม่จำเป็น





2. ไม่ควรติดเครื่องระหว่างจอดรถ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันโดย
    ไม่จำเป็นและ เกิดไอเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ




3. ขับรถด้วยความเร็วสม่ำเสมอ
ด้วยอัตราความเร็วคงที่ที่เหมาะสม
ประมาณ 40 กม./ ชม.





4. หลีกเลี่ยงการใช้เบรคโดยไม่จำเป็น
    การขับขี่และเร่งเครื่องแบบ กระชาก
   ในการจราจรที่ติดขัด จะทำให้ต้องเหยียบเบรค
   บ่อย ๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น
 



5. ไม่ควรบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น
     เพราะนอกจากจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน
     มากขึ้นแล้ว ยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอ
     เร็วกว่าที่ควรด้วย



  

6. ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนมาตรฐาน
     ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ โดยควรใช้น้ำมัน
     ที่มีค่าออกเทน 91


 


7. วางแผนเดินทางก่อนติดเครื่องยนต์ ซึ่งก่อน
    การเดินทางควรมีการวางแผนล่วงหน้า เลือกทาง
    ที่ใกล้ที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุดช่วย ให้ประหยัด
    ทั้งน้ำมันและเวลา


 

8. ไม่ควรเร่งเครื่องอย่างแรงขณะออก รถ แต่ยัง
    ปล่อยคลัทช์ไม่สุดหรือเมื่อเข้าเกียร์เสร็จแล้วแต่
   ไม่ยอมปล่อยคลัทช์ จะทำให้ คลัทช์สึกหรอเร็ว
    และสิ้นเปลืองน้ำมัน



 

2. การแก้ไขอุบัติเหตุด้วยตนเองขณะขับขี่รถจักรยานยนต์


2.1. ถนนที่มีน้ำมัน

1.1 ใช้เกียร์ต่ำเร่งเครื่องให้อยู่ในระดับหนึ่งตลอดเวลา
1.2 เมื่อพ้นถนนที่มีน้ำขังแล้ว ให้ใช้เบรคเป็นระยะ ๆ เพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรค
     จนเบรคอยู่ในสภาพปกติ
1.3 ในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ ต้องจูงรถไปให้พ้นน้ำ
1.4 ถอดหัวเทียนออกมา เช็ดทำความสะอาดให้แห้งรวมทั้งตรวจสอบและทำให้ระบบไฟจุดระเบิด
     ปราศจากความชื้น
1.5 นำอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบเข้าที่อย่างถูกต้องแล้ว จึงติดเครื่องยนต์ใช้งานต่อไป

2.2. เบรคไม่ทำงาน

2.1 ปกติแล้วเบรคหน้าและเบรคหลังของรถจักรยานยนต์จะทำงานเป็นอิสระต่อกัน เมื่อเบรค
     ไม่ทำงานขณะขับขี่ ให้ลดเกียร์ลงมาถึงเกียร์ต่ำสุด เครื่องยนต์จะช่วยเบรคและหยุดรถ
    ได้อย่างปลอดภัย
2.2 ถ้ายังไม่สามารถหยุดรถได้ ควรบีบแตรไว้ตลอดเวลา เพื่อเตือนให้รถอื่นรู้ว่า รถจักรยานยนต์
     ของเรากำลังมีปัญหาให้ระมัดระวัง
2.3 เมื่อหยุดรถได้อย่างปลอดภัยแล้ว ควรตรวจแก้ไขความบกพร่องเป็นลำดับต่อไป






2.3. คันเร่งค้าง 
3.1 ตามปกติ คันเร่งจะเกิดการขัดข้องก็ต่อเมื่อสายคันเร่งขาดหรือบิดงอ เมื่อเกิดคันเร่งค้าง
      ขณะขับขี่ ให้ปิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง OFF หรือดึงสายไฟออกเพื่อตัดจุดระเบิด  
3.2 หลังจากเครื่องยนต์ดับแล้ว นำรถเข้ามาจอดในที่ปลอดภัยอย่างระมัดระวัง  
3.3 ตรวจสอบความบกพร่องและจัดการแก้ไขต่อไป การขัดข้องของระบบคันเร่ง ซึ่งมักจะ
      มาจากรถขาดการบำรุงรักษา ปล่อยให้สายคันเร่งขาด ( เป็นบางเส้น) หรือบิดงอ


 
2.4. รถล้ม

4.1 เพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้ ต้องรีบปิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง OFF หรือตัดสายไฟ
      ที่จะทำให้เกิดประกายไฟทันที 
4.2 นำรถไปในที่ปลอดภัยด้วยความระมัดระวัง 
4.3 สำรวจร่างกายว่ามีบาดแผลตรงไหนหรือไม่แล้ว จึงตรวจความเสียหายของรถ
     โดยเฉพาะตรวจการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่อง
4.4 ติดเครื่องยนต์ แล้วลองใช้คันเร่งและอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ต่อไปหรือไม่

2.5. ถ้าเครื่องยนต์ร้อนมากเกินไป
เมื่อเครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง ลูกสูบจะเกิดอาการฝืด เครื่องยนต์จะมีเสียงเหมือนขณะใช้
เครื่องยนต์ช่วยเบรค (ขณะรถอยู่ในเกียร์ใดเกียร์หนึ่งโดยไม่เร่งเครื่อง) เมื่อเกิดอาการเช่นนี้ขณะขับขี่
ให้เข้าเกียร์ว่างทันทีเพื่อป้องกันปัญหาเครื่องหยุดทำงานแล้วล้อหลังจะล็อค เหยียบเบรคเบา ๆ
พยายามหยุดรถในที่ปลอดภัยในกรณีที่รถบางรุ่นระบายความร้อนด้วยน้ำ อย่ารีบเปิดฝาหม้อน้ำ
เพราะจะถูกน้ำร้อนลวก จะต้องรอให้เครื่องยนต์เย็นลงพอสมควร จึงค่อยตรวจดูน้ำมันเครื่อง
และน้ำหล่อเย็น

2.6. ถ้ายางระเบิด
ขณะขับขี่อยู่ ถ้าเกิดยางระเบิดรถจักรยานยนต์จะเสียทิศทางและเสียการทรงตัว มีอาการส่ายแฉลบคล้ายปลากระดิกหาง เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ให้จับแฮนด์ให้แน่น พยายามรักษาทิศทางให้ดี ให้เข่าทั้งสองข้างบีบให้แน่น
กับถังน้ำมัน ปล่อยให้รถช้าลงด้วยตัวมันเอง จนสามารถควบคุมการทรงตัวได้ แล้วจึงเบรค ( หยุดรถ) จากนั้น
นำรถเข้าจอดในที่ปลอดภัย


3. ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ


1. ถ้าไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ

1.1 ให้ดับเครื่องยนต์ ระมัดระวังมิให้เกิดไฟลุกไหม้
1.2 พยายามนำรถออกนอกผิวจราจร ( หากไม่มีคู่กรณีหรือมีแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมรับผิด)
      หากมีปัญหาทางด้านคดีคือ มีคู่กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้เอง หรือรถได้รับความเสียหาย
      จนเคลื่อนที่ไม่ได้ ห้ามเคลื่อนย้ายรถ ต้องเปิดไฟฉุกเฉินให้รถคันอื่นทราบว่ามีรถที่เกิด
      อุบัติเหตุอยู่และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุดให้มาพิสูจน์สถานที่

2. ถ้ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ

2.1 ดับเครื่องยนต์ ระมัดระวังมิให้เกิดไฟลุกไหม้  
2.2 นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด พร้อมกับแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ


4. การปฐมพยาบาล

 
การช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุที่มีอาการหนัก ผู้ที่ประสบเหตุจะต้อง ให้การช่วยเหลือ
ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากบริเวณที่เกิดเหตุมีผู้บาดเจ็บรอรับการช่วยเหลือและมีผู้เสียชีวิต ให้
ช่วยเหลือผู้ที่ยังมีลมหายใจอยู่โดยปล่อยผู้เสียชีวิตไว้ก่อน

4.1. กรณีผู้หมดสติ
- ถ้าหัวใจไม่เต้นให้ใช้ฝ่ามือวางซ้อนกันตรงบริเวณหัวใจแล้วกดเต็มแรงหลาย ๆ ครั้ง 
- ตรวจดูชีพจรว่ายังเต้นอยู่หรือไม่ ถ้าชีพจรหยุดเต้นให้ใช้ปากประกบกับปากผู้บาดเจ็บ แล้วออกแรง
  เป่าลมเข้าไปเต็มแรงหลาย ๆ ครั้ง แล้วดูการเต้นของหัวใจหรือเปิดเปลือกตาดูม่านตาดำว่าเปิด
  หรือปิด ( ถ้าม่านตาดำเปิดค้าง แสดงว่าผู้บาดเจ็บอาจเสียชีวิตแล้ว)

4.2. กรณีผู้ยังมีสติอยู่
- พยายามชวนเขาสนทนาและปลอบใจ
- ตรวจดูตามลำตัวว่ามีแผลหรือเลือดไหลจากที่ใดบ้าง ลักษณะบาดแผลฉกรรจ์มากน้อยเพียงใด
- ตรวจตามร่างกายว่ามีส่วนใดผิดปกติหรือมีปัญหาบ้างหรือไม่ มีกระดูกโผล่หักหรือร่างกายส่วนใด
  ผิดรูปไปจากธรรมชาติบ้างหรือไม่ ผู้บาดเจ็บบอกว่ามีอาการเจ็บปวดที่ใดบ้างหรือไม่  
- ถ้าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ผู้บาดเจ็บสวมหมวกกันน็อคในขณะเกิดอุบัติเหตุศีรษะได้รับบาดเจ็บก็
  ไม่ควรถอด หมวกกันน็อคออก เพราะหมวกอาจจะช่วยรักษาสภาพกะโหลกศีรษะที่แตกจนเสียรูป
  ให้อยู่ในสภาพที่ เป็นปกติ จนกว่าจะส่งให้อยู่ในความดูแลของแพทย์

4.3. กรณีผู้บาดเจ็บเสียเลือดมาก
ถ้าผู้บาดเจ็บมีเลือดไหลออกจากบริเวณหน้าอกหรือบริเวณท้อง ย่อมเป็นการยากที่ จะตัดสินใจว่า
ผู้บาดเจ็บได้รับการกระทบกระแทกรุนแรงเพียงใด การช่วยเหลือหรือห้ามเลือดก็เป็นไปด้วยความลำบาก
มากด้วยเช่นกัน สำหรับวิธีการห้ามเลือดในบางจุดของร่างกายกระทำได้โดยวิธีต่อไปนี้

- การห้ามเลือดที่แผลโดยตรง ให้ใช้ผ้าสะอาด, ผ้ากอซ, สำลี กดลงไปที่บาดแผล  
- การห้ามเลือดจากจุดอื่น ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดปิดทางเดินของเส้นโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย
  ส่วนที่เกิดบาดแผล โดยกดให้เส้นเลือดบีบตัวเข้ากับกระดูก
- การห้ามเลือดโดยวิธีใช้เชือกมัด ถ้าการห้ามเลือดทั้งสองวิธีข้างต้นไม่ได้ผลคือไม่สามารถห้ามเลือด
  จากบาดแผล ที่แขนหรือขาได้ ก็ให้ใช้วิธีเชือกมัดที่เส้นเลือดต้นทาง ( เชือกที่จะใช้มัดควรเป็น
  เส้นเหนียวที่อ่อนและไม่เล็กจนบาดร่างกาย ขณะที่มัดให้ตึง) วิธีทำคือมัดเชือกหรือพันผ้าพันแผล
  ระหว่างหัวใจกับบาดแผล โดยเลื่อนเข้ามาใกล้ด้านหัวใจที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น โคนแขน โคนขา
  ให้พันให้แน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าเลือดจะหยุด ผ้าเช็ดตัวหรือผ้ารูปสามเหลี่ยมก็สามารถใช้มัด
   ห้ามเลือดได้ การห้ามเลือดโดยวิธีใช้เชือกมัด เป็นทางเลือกสุดท้ายเพราะใช้วิธีอื่นแล้วเลือดไม่หยุด
   เท่านั้น เพราะเส้นเชือกอาจทำให้การหมุนเวียนของโลหิตในร่างกายไม่เป็นปกติ อาจจะส่งผลกระทบ
   ถึงระบบสมองได้เมื่อมัดห้ามเลือดแล้วการแก้เชือก



5. การขับขี่อย่างป้องกันไว้ก่อน


เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ จะต้องมีความระมัดระวัง และพิจารณาสภาพถนนสภาพ การจราจรที่อยู่
รอบตัวไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง รวมทั้งจะต้องทราบด้วยว่าผู้ใช้รถใช้ถนนร่วม
กับท่านทำอะไร อย่างไร จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับท่านหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้อย่าง
ทันท่วงที และจะต้องระวังเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่คาดไม่ถึง


1. จะขับขี่ในลักษณะป้องกันไว้ก่อนอย่างไร

1.1 อย่าปล่อยให้ตัวเราเองเป็นผู้ก่ออุบัติเหตุ  
      การเหยียบเบรคหรือเปลี่ยนเลนอย่างกระทันหัน ผู้ขับรถคันอื่นไม่สามารถจะ สนองตอบได้ทัน
      ก็จะทำให้มีการชนกันหรืออาจจะหลบรถของเราแล้วไปชนกับรถคันอื่น ได้เพราะฉะนั้นไม่ควร
      เบรคเต็มแรงหรือเปลี่ยนเลนกระทันหัน
1.2 ต้องสังเกตและดูให้เห็นชัด
      จะต้องสังเกตและจะต้องดูผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันกับเราให้เห็นชัดเจน ควรสวมเสื้อผ้า
      สีสดใสและเปิดไฟหน้ารถทั้งเวลากลางวันและเวลากลางคืน
  
1.3 ให้สัญญาณอย่างถูกต้องแต่เนิ่น ๆ
   จะต้องให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องแต่เนิ่นๆเพื่อให้รถคันอื่นทราบความประสงค์หรือทิศทางที่แน่นอน

1.4 รักษาระยะความปลอดภัยรอบ ๆ รถไว้ให้ได้  
- ถ้าพบว่า ช่องทางที่จะขับขี่รถจักรยานยนต์แคบเกินกว่าจะขับไปได้อย่าง ปลอดภัย ควรพยายาม
  ขับชิดข้างใดข้างหนึ่งหรือเปลี่ยนไปใช้ทางอื่น  
- เมื่อให้สัญญาณรถที่แล่นตามหลังมาแซงขึ้นหน้า จะต้องเพิ่มระยะห่างหน้ารถที่แล่นตามอยู่ให้มากขึ้น  
- การขับขี่รถจักรยานยนต์จะต้องเว้นระยะปลอดภัยรอบตัวไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้



1.5 คาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ จะต้องพยายามสร้างความตื่นตัว และคาดการณ์อยู่เสมอว่า สิ่งที่ไม่
คาดคิดย่อมจะเกิดขึ้นได้เสมอเช่น การเลี้ยวรถจักรยานยนต์  อย่างกระทันหันในทางแยกการเลี้ยวขวา
ที่มุมถนน หรือกลับรถกระทันหันโดยไม่ให้สัญญาณล่วงหน้า หรือแม้แต่สภาพ ดิน ฟ้าอากาศ ก็จะทำให้
เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน 


1.6 การขับขี่จะต้องเป็นคนใจกว้าง  เราทุกคนต้องเคยกระทำความผิด ดังนั้น เมื่อพบผู้กระทำผิดเราต้อง
ทำใจให้ได้ว่า “ ทุกคนย่อมเผลอจะทำผิดได้ ”  และไม่ควรแสดงอาการตอบโต้หรือแสดงให้เขารู้ตัวว่า
เขาทำผิด สมควรได้รับบทเรียน เพราะวิธีการเช่นนี้จะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมา ฉะนั้นเมื่อพบ
ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นทำผิดควรพิจารณาถึงความจำเป็นของเขาและ ให้อภัย 

  
1.7 อย่าอวดเก่ง  เมื่อ สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ ( ขับเป็นใหม่ ๆ) ผู้ขับขี่อาจอยู่ในสภาพที่ลืมตัว
คิดว่าตนเองเป็นนักขับขี่ที่เชี่ยวชาญ โดยขับขี่อย่างรวดเร็ว การอวดเก่งเช่นนี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อ
ตนเองและผู้อื่น วิธีที่ถูกสำหรับผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ใหม่คือ พยายามขับขี่รถให้ปลอดภัยที่สุดเต็ม
ความสามารถตลอดเวลา อย่าแสดงว่าตัวเองเก่ง


6. การบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ 


1. ยาง :

1.1 การดูแลยางให้คุ้มค่า การ เลือกใช้ยางให้เหมาะสมกับรถจักรยานยนต์ที่ขับขี่ จำเป็นต้อง
      คำนึงถึงขนาด ความเร็วสูงสุดและสมรรถนะต่าง ๆ ของรถจักรยานยนต์ ซึ่งสามารถอ่านได้
      จากคู่มือรถจักรยานยนต์หรือสอบถามจากบริษัทผู้ผลิต จักรยานยนต์นั้น ๆ นอกจากนี้ยังต้อง
      พิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของยางแต่ละเส้น รวมถึงพฤติกรรมการขับขี่การควบคุมบังคับ
      รถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่ มาเป็นข้อพิจารณาเลือกยางที่เหมาะสมต่อไป 

1.2 การใส่ยางรถจักรยานยนต์ 
จะ ต้องดูว่ารถจักรยานยนต์ที่ใช้ขับขี่นั้น จัดอยู่ในประเภทที่ใช้ยางในหรือไม่ใช้ยางใน แล้วจึงเลือก
ชนิดของยางให้ถูกประเภทของรถจักรยานยนต์นั้น ๆ ด้วย เช่น ยางชนิดไม่ใช้ยางในควรใส่บน
กระทะล้อชนิดไม่ใช้ยางในเท่านั้น และห้ามใส่ยางในกับยางรถจักรยานยนต์ ที่ไม่ใช้ยางในเป็นต้น 

1.3 การถอดยาง 
- ถอดแกนวาล์วแล้วปล่อยลมยางออก
- ขยับให้ขอบยางพ้นจากขอบล้อ แล้วทาสารหล่อลื่นที่ขอบและปีกกระทะล้อให้รอบทุกด้าน
- ใช้เหล็กงัดยางปลายแบน 2อันงัดเอายางออกจากกระทะล้อ




1.4 การสูบลมยางรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจเช็ค ความดันลมเมื่อยางเย็นหรือก่อนวิ่งหรือ
อย่างน้อยที่สุดหนึ่งชั่วโมงคือหลัง จากหยุดรถ เพราะความร้อนของยางขณะวิ่งจะทำให้ความดัน
ลมขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงไม่ควรจะ ปรับความดันลมขณะยางร้อน ความดันลมที่ถูกต้อง จะมีผลต่อการ
ยึดเกาะถนนซึ่งหมายถึง ความปลอดภัย การทรงตัว ความนุ่มนวลสะดวกสบาย และอายุการใช้งาน
ที่ยาวนาน ตลอดจนสมรรถนะที่เหมาะสม กับสภาพการใช้งาน การสูบลมยาง สามารถดูได้จาก
คู่มือยางรถจักรยานยนต์จากบริษัทผู้ผลิตที่ได้ มาตรฐาน 

1.5 การใช้และการตรวจสอบยาง
1) เลือกขนาดและชนิดของยางให้เหมาะสมตามที่คู่มือรถกำหนดไว้
2) สูบลมยางให้ถูกต้องตามอัตราที่กำหนด ( ควรสูบลมขณะที่ยางเย็น) และตรวจลมยางอย่างน้อย
    สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3) เมื่อเดินทางไกลควรสูบลมเพิ่ม 1-2 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
4) ปิดฝาจุกยางเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
5. ตรวจสภาพการสึกหรอของยาง โดยตรวจดูดอกยางตรงที่มีเครื่องหมายสามเหลี่ยม

ข้อสังเกต
เมื่อรถสั่นสะเทือนมากขณะวิ่ง จะพบว่ามีสาเหตุมาจาก 
1) สูบลมยางแข็งเกินไป 
2) โช๊คอัพเสีย
3) ยางไม่สมดุล

2. ระบบเบรค ( ระบบห้ามล้อ)
  
ระบบเบรค มีทั้งดรัมเบรคและดิสก์เบรค ดิสก์เบรคเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยดีกว่า การดูแลรักษา
ง่ายกว่าดรัมเบรค โดยให้สังเกตจากกระปุกน้ำมันเบรค หากน้ำมันลดลงก็หมายความว่าผ้าเบรคสึกหรอ
ลดลงไปเรื่อย ๆ หรือหากน้ำมันเบรคต่ำกว่าระดับ MINแสดงว่าผ้าเบรคหมดให้เปลี่ยนผ้าเบรคใหม่และ
ทุกๆปีควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ มันเบรคทั้งหมดการตรวจเช็คผ้าเบรคโดยดูจากร่องที่ผ้าเบรคถ้าสึกมาก
ให้รีบเปลี่ยนถ้าไม่เปลี่ยนปล่อยไว้นานอาจทำให้จานเบรคเสียหายได้การ ปรับระยะผ้าเบรคนั้นระบบ
ดิสก์เบรคเป็นระบบอัตโนมัติในขณะที่ดรัมเบรคต้อง ปรับตั้งระยะผ้าเบรคทันทีที่รู้สึกว่าเบรคต่ำนั้นคือ
ต้องบีบหรือเหยียบ มากกว่าปกติซึ่งเมื่อปรับจนหมดระยะที่เครื่องหมายบอกแล้วแสดงว่าผ้าเบรคบาง
มากให้รีบเปลี่ยนใหม่เพราะจะทำให้เบรคไม่อยู่เกิดเสียงดังและเบรคค้างได้


3. โซ่ / สเตอร์ :


รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนที่ด้วยโซ่และสเตอร์นั้นซ่อมง่ายดูแลง่ายแต่ก็สึกหรอง่ายกว่าระบบเพลา
เพราะทั้งสองส่วนต้องทำงานร่วมกันเช่นหากโซ่หมดอายุก็จะทำให้สเตอร์เสียหายไปด้วยจึงต้อง
คอยดูแลตรวจสอบความตึงหย่อนของโซ่ทุกๆสัปดาห์โดยเฉพาะในระยะรัน–อินที่โซ่จะยืดตัวมาก
อีกทั้งไม่ควรตั้งโซ่ให้ตึงมากเกินไปเพราะจะทำให้ทั้งโซ่และสเตอร์สึกหรอมากหากต้องใช้งาน
บรรทุกหนักลุยน้ำลุยโคลนต้องคอยตรวจดูความหนาแน่นของข้อต่อโซ่และลูกกลิ้งว่ายังหมุนได้
คล่องหรือไม่หากข้อต่อติดต้องรีบเปลี่ยนทันทีเนื่องจากมีสิทธิขาดได้ตลอดเวลาการบำรุงรักษา
โซ่ควรหล่อลื่นด้วยน้ำมันเกียร์เป็นประจำหากสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำมันโซล่าหรือเบนซินโดย
ใช้แปรงอย่าแช่ทิ้งไว้เพราะจะทำให้โอริงแข็งและเสื่อมคุณภาพส่วนสเตอร์นั้นจะเสื่อมไปตาม
สภาพ เช่น ฟันล้มหรือบิ่นโดยมากโซ่และสเตอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10,000กิโลเมตรเมื่อ
ถึงระยะเวลาเปลี่ยนควรเปลี่ยนทั้งชุด


4. ไ ฟฟ้า :

พลังงานขับเคลื่อนรถจักรยานยนต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ไฟฟ้า ซึ่งมาจากแหล่งพลังงาน “แบตเตอรี่”
ที่เราต้องคอยดูแลบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องระบบไฟเช่น

- ตรวจดูระดับน้ำยาแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับสูงสุด (MAX) หรืออย่างน้อยต้องไม่อยู่ในระดับต่ำสุด
  (MIN)ถ้าน้ำยามีระดับต่ำต้องรีบเติมน้ำกลั่นลงไปให้ได้ระดับมิฉะนั้นจะทำให้ แบตเตอรี่เสื่อมและ
  เสียเร็วแล้วยังต้องคอยสังเกตด้วยว่าน้ำยาในแบตเตอรี่ แห้งหรือไฟหมดเร็วกว่าปกติหรือไม่ถ้ามีต้อง
  รีบตรวจสอบระบบไฟฟ้าทันที
- ตรวจดูขั้วสายแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบว่าหลุดหลวมหรือไม่มีขี้เกลือขึ้นหรือไม่ถ้ามีให้ใช้น้ำอุ่น
  ล้างแล้วเอาแปรงลวดขัดให้ออก
- ตรวจสอบสายระบายไอของแบตเตอรี่ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่เพราะอาจทำให้ชิ้นส่วนที่
  ถูกไอระเหยของแบตเตอรี่ผุกร่อนได้


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://nenfe.nfe.go.th
























วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เริ่มแล้วมหกรรม "รถมือสองฯ 2012"



วันและเวลา : 20 - 29 กรฎาคม 2555
สถานที่ : ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี






มหกรรมโชว์รถมือสองระดับคุณภาพ จากค่ายรถ ผู้นำเข้าอิสระ และเต็นท์รถชั้นนำของเมืองไทย พร้อมเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายให้สามารถหาซื้อรถมือสองมีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสมและเพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษามูลค่าตลาดรวมของรถยนต์ให้เกิดการหมุนเวียน และเป็นการกระตุ้นภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศภายในงานนอกจากจะจัดแสดงรถยนต์มือสองแล้ว ยังมีรถหรูระดับพรีเมี่ยมในประเทศไทยมาร่วมโชว์และจำหน่ายภายในงานอีกด้วย




ขอขอบคุณ http://www.wikalenda.com

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
“บริษัทฯ เป็นเพียงศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมเท่านั้น ขอสงวนสิทธิไม่รับผิดชอบในข้อมูลและการนำไปใช้  การพิจารณาหรือการนำข้อมูลไปใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละบุคคล”